29 September 2007

SOA ขับเคลื่อนองค์กรสู่บริการ เทรนด์ใหม่ที่ต้องปรับตัว

Service Oriented Architecture SOA ขับเคลื่อนองค์กรสู่บริการ เทรนด์ใหม่ที่ต้องปรับตัว

เมื่อการแข่งขันมาถึงจุดที่การให้บริการลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญมากกว่าการแข่งขันเรื่องราคา หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ใครๆก็สามารถทำได้ เหตุนี้ทำให้องค์กรต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการเพื่อขยายให้ทันกับความต้องการของลูกค้า ตัวอย่างเช่น บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในการสร้างบริการให้ลูกค้าเข้าถึงด้วยการเข้าใช้บริการผ่านร้านให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดบริการ ซ่อมเครื่อง รวมไปถึงสอบถามบริการผ่านคอลเซ็นเตอร์ แทนที่จะเข้ามารับบริการที่ส่วนกลาง

ทว่าระบบต่างๆที่กระจายอยู่ตามร้านให้บริการ และคอลเซ็นเตอร์นั้น ต้องพึ่งระบบไอทีจากส่วนกลางในการให้บริการ

ดังนั้น ระบบไอทีหลังบ้านจึงจำเป็นต้องสนับสนุนการทำงานที่ขยายเพิ่มขึ้น !!!

ดังนั้น แนวคิดการใช้ SOA (Service-Oriented Architecture )จึง เกิดขึ้น เพราะการใช้ไอทีในองค์กรไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป ที่ไม่เพียงพอต่อการทำงานที่เพิ่มขึ้น อีกต่อไป

SOA กระทบโครงสร้างไอทีขององค์กร

SOA ไม่ใช่ซอฟต์แวร์ หรือ แพ็คเกจ นายพัฒน์พงศ์ บุปผรัตน์ ที่ปรึกษาอาสุโสด้านธุรกิจและหัวหน้าทีมพัฒนาธุรกิจขององค์กร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด อธิบายถึงแนวคิดของ SOA ว่า SOA แบ่งเป็น 2 คำ Service-Oriented และ Architecture

คำแรก Service-Oriented เป็น Software ที่ไม่ใช่ซอฟต์แวร์ แพ็คเกจ แต่เป็นซอฟต์แวร์ตัวเล็ก ทำงานเฉพาะด้าน ขึ้นอยู่กับว่าจะแบ่งเป็นบริการอะไรบ้าง

คำที่สอง Architecture คือการออกแบบ โดยจะมององค์กรโดยรวมว่าต้องการบริการอะไรบ้าง ก็จะแบ่งบริการนั้นๆออกเป็นส่วนย่อยๆ

ทั้งนี้ หลายคนมองว่า SOA คือ web service แต่จริงๆแล้วไม่ใช่เพราะ web service เป็นแค่เครื่องมือในการใช้งาน

ดังนั้น SOA จึงไม่ใช่สินค้า หาซื้อไม่ได้ แต่มันคือแนวคิดที่ต้องสร้างเองในองค์กร

สำหรับสินค้าที่เกี่ยวข้องกับ SOA ประกอบด้วย 4 ส่วนคือ 1. Enterprise Service Bus เป็นโครงข่ายสำคัญในการขับเคลื่อน SOA ทั้งหมด เป็นการเชื่อมต่อระหว่างแอพพลิเคชัน

2.Design-Time Governance เป็น ดาต้า เบส กลางช่วยรวบรวมว่าองค์กรมีบริการอะไรบ้าง และช่วยนำบริการออกไปยังหน่วยงานและควบคุมบริการให้เหมาะสมกับองค์กรด้วย

3.Run-Time management เป็นตัวจัดการ ทำอย่างไรให้บริการทำงานสอดคล้องกับ SOA ที่ตั้งไว้ และ 4.Security Gateway ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง Firewall ที่เป็นเน็ตเวิร์ก แต่เป็น Application Firewall ที่เข้าใจ คำสั่ง XML นอกจากนี้ต้องมี Application Delivery Control ช่วยเร่งความเร็วในการทำงานของ SOA ด้วย

เมื่อนำแนวคิด SOA เข้ามาใช้ แอพพลิเคชันแบบเก่าต้องถูกรื้อใหม่

จากแนวคิดเรื่อง SOA ทำให้เกิดการทำ Software as a service (SaaS) และ web 2.0 ขึ้น

SaaS คือ แอพพลิเคชัน แต่ไม่ใช่ แอพพลิเคชันตัวใหญ่ มีหน้าทีทำงานเฉพาะด้านในด้านหนึ่ง โดยการใช้งานของผู้ใช้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของแอพพลิเคชัน สามารถขอเช่าใช้งาน โดยมี Vender หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดูแลรักษา

การ์ทเนอร์ คาดการณ์ในปี 2010 ซอฟต์แวร์ทุกอย่างจะเป็น SaaS ในสัดส่วน 25%

ขณะที่ web 2.0 หลักการคือ คนใช้งานเป็นผู้จัดการข้อมูลได้ด้วยตัวเอง เจ้าของเว็บไซต์เป็นเพียงผู้ให้บริการ ไม่ใช่เจ้าของที่ทำหน้าที่ให้ข้อมูลเพียงฝ่ายเดียว การให้ข้อมูลต้องเกิดจากผู้ใช้งานและเป็นข้อมูลที่มีการสื่อสารได้ 2 ทาง

ตัวอย่างของสิ่งที่เกิดขึ้นจากแนวคิด web 2.0 ที่เห็นในตลาด ได้แก่ Blog ที่เจ้าของและสมาชิกเข้ามาแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ ทำนองเดียวกับ Wikipedia หรือ Google Adsearch ที่ผู้ใช้สามารถเข้าไปควบคุมการทำงานว่าต้องการได้รับบริการรูปแบบใด




เมื่อเทรนด์เป็นเช่นนี้ องค์กรต่างๆที่ต้องการสร้างบริการให้เกิดความพึงพอใจแก่ลูกค้าจำเป็นต้องนำแนวคิดนี้ไปสร้างให้เกิดประโยชน์ในทางการตลาด
ช่องโหว่ SOA ที่ไม่ควรมองข้าม

ทว่าแนวคิด SOA ก็ต้องได้รับความปลอดภัยสูงเช่นกัน ในมุมมองของผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่าย อย่างบริษัท ทรีคอม (ประเทศไทย) จำกัด โดยนายสุรชัย ไชยรังกิจรัตน์ กล่าวว่า แนวคิด SOA คือการออกแบบอยู่บนซอฟต์แวร์ที่แยกกันเป็นส่วนๆ ถ้ามีซอฟต์แวร์ 10 ตัว ระบบก็ต้องรายงาน 10 ตัว ไม่เหมือนซอฟต์แวร์แบบดั้งเดิมที่รายงานรวมกันทั้งหมดเพียงครั้งเดียว

นอกจากนี้ เนื่องจาก SOA ใช้ web service เป็นเครื่องมือ ที่วิ่งอยู่บน Protocal XML ดังนั้นจึงเป็นมิตรกับมนุษย์ นั่นหมายถึงคนสามารถเข้าไปอ่านข้อมูลได้เพียงรู้ ชื่อผู้ใช้งาน ไม่เหมือนภาษาคอมพิวเตอร์แบบสมัยก่อน

ดังนั้นแต่ละช่องของซอฟต์แวร์ที่คุยกันจึงมีช่องว่างด้านความปลอดภัย ถูกโจมตีง่าย !!!

เน็ตเวิร์กจึงต้องมีความปลอดภัยสูง มีความเสถียรในการใช้งาน และสามารถมอนิเตอร์ได้ ต้องแน่ใจว่าไม่มีใครมาเปลี่ยนแปลงข้อมูลในการส่งระหว่างทางไปถึงผู้รับ

เมื่อ SOA คือคำตอบของการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีแล้ว เพราะการใช้งานด้านไอที ไม่ได้จำกัดอยู่แต่เพียงการใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปเพื่อบันทึกข้อมูลของบุคลากรอีกต่อไป แต่ยังจำเป็นต้องวิเคราะห์และบริการจัดการข้อมูล และสร้างบริการในเชิงลึกอีกมาก สิ่งที่องค์กรต้องคำนึงถึงในการเลือกเวนเดอร์เพื่อเข้ามาสนับสนุนการวางระบบให้ สามารถเลือกได้ 2 แบบ คือ แบบแรก ใช้เวนเดอร์เจ้าเดียวเพื่อหาโซลูชันที่ต้องการให้ ซึ่งวิธีการนี้จะไม่มีปัญหาในการนำโซลูชันหลายๆอย่างมาอินทริเกรทกัน เพราะเวนเดอร์จะรู้ระบบและสามารถกระทำได้จากโซลูชันที่ได้เลือกมา วิธีที่สอง คือ ใช้เวนเดอร์หลายเจ้าโดยเลือกจากเวนเดอร์ที่มีจุดแข็งในแต่ละโซลูชัน แต่อาจมีปัญหาเรื่องการอินทริเกรทโซลูชัน เพราะเป็นโซลูชันจากคนละเวนเดอร์มาอยู่ด้วยกัน ดังนั้น ควรเลือก โซลูชันที่เป็นโอเพ่น ซอร์ส จะไม่มีปัญหาในการอินทริเกรท เนื่องจากเป็นซอฟต์แวร์เปิด

องค์กรใช้ไอทีในการขับเคลื่อนธุรกิจ ไม่ควรพลาดในการนำแนวคิด SOA ไปใช้ในองค์กร!!!

No comments:

Copyright 2007-2010 © SOA Service Oriented Architecture. All Rights Reserved